ศูนย์เรียนรู้โครงการเพาะพันธุ์ปลาเทศบาลตำบลเกาะแก้ว

ศูนย์เรียนรู้โครงการเพาะพันธุ์ปลาตำบลเกาะแก้ว ได้ดำเนินการจัดตั้งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2553 เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ สาธิต รวบรวมข้อมูล และเป็นศูนย์ประสานงาน ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับประชาชนในเขตตำบลเกาะแก้ว

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กิจกรรมโครงการฝึกอบรมการเพาะขยายพันธุ์ปลา ปี 2556

หลักการและเหตุผล

        ตามที่ เทศบาลตำบลเกาะแก้ว  ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้โครงการเพาะพันธุ์ปลาตำบลเกาะแก้วขึ้น เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ รวบรวมข้อมูล สาธิต และเป็นศูนย์ประสานงาน ตลอดจนเป็นสถานที่ฝึกอบรมสำหรับประชาชนในเขตพื้นที่  และเป็นสถานที่เพาะขยายพันธุ์ปลาในการดำเนินงานตามโครงการขยายพันธุ์ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อเพิ่มแหล่งอาหารโปรตีนปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติในเขตตำบลเกาะแก้ว  และเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2556 ตลอดจนประชาชนได้ร่วมกันปล่อยพันธุ์ปลา ถวายเป็นพระราชสักการะสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นการขยายพันธุ์ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป   

        และในปี พ.ศ. 2556 นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด  ได้ขอเข้าฝึกอบรม ศึกษา เรียนรู้การเพาะขยายพันธุ์ปลา ณ ศูนย์เรียนรู้โครงการเพาะพันธุ์ปลาเทศบาลตำบลเกาะแก้ว เพื่อศึกษา เรียนรู้การเพาะขยายพันธุ์ปลา การผสมพันธุ์ปลา การเพาะฝักไข่ปลา การเตรียมบ่ออนุบาลลูกปลา และการอนุบาลลูกปลา ตลอดจนการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลา นั้น

        และศูนย์เรียนรู้โครงการเพาะพันธุ์ปลาเทศบาลตำบลเกาะแก้ว  ได้อนุญาตให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด เข้ารับการฝึกอบรม ศึกษา เรียนรู้การเพาะขยายพันธุ์ปลา ณ ศูนย์เรียนรู้โครงการเพาะพันธุ์ปลาเทศบาลตำบลเกาะแก้วในครั้งนี้


วัตถุประสงค์
        1. เพื่อให้ความรู้ในการเพาะขยายพันธุ์ปลา การผสมพันธุ์ปลา การเพาะฝักไข่ปลา 
 และการอนุบาลลูกปลา ตลอดจนการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลา
        2.  เผยแพร่การดำเนินโครงการขยายพันธุ์ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติตำบลเกาะแก้ว
        3.  ช่วยขยายเครือข่ายการอนุรักษ์พันธุ์ปลาตำบลเกาะแก้ว
        4.  ช่วยขับเคลื่อนขยายผลการเพาะพันธุ์ปลาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
  
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
        1.  เป็นแหล่งเรียนรู้การเพาะพันธุ์ปลา และการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาระดับชุมชน   
        2.   ขยายผลการดำเนินโครงการขยายพันธุ์ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติ
        3.  ขยายเครื่อข่ายอนุรักษ์พันธุ์ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติตำบลเกาะแก้ว
        4.  ขยายผลการเพาะพันธุ์ปลาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

        ศูนย์เรียนรู้โครงการเพาะพันธุ์ปลาตำบลเกาะแก้ว  ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมฝึกอบรมการเพาะขยายพันธุ์ปลา ในวันที่ 15 มิถุนายน 2556 ณ ศูนย์เรียนรู้โครงการเพาะพันธุ์ปลาตำบลเกาะแก้ว โดยดำเนินการเพาะขยายพันธุ์ปลาตะเพียนขาว ซึ่งให้ปลาผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ ด้วยการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ เพื่อช่วยเร่งให้ปลาวางไข่ตามแบบธรรมชาติ

                       การดำเนินกิจกรรมฝึกอบรมการเพาะขยายพันธุปลา ประจำปี 2556
        ขั้นตอนการปฏิบัติการเพาะขยายพันธุ์ปลาจะมีผู้เชี่ยวชาญ คอยให้ความรู้และคำแนะนำ ทุกขั้นตอนการปฏิบัติ ให้นักศึกษาได้รับความรู้ในการเพาะขยายพันธุ์ปลาและเกิดประโยชน์สามารถนำไปปฏิบัติได้
       ในการฝึกอบรมการเพาะขยายพันธุ์ปลาในครั้งนี้ ทางศูนย์เรียนรู้ฯ จะใช้ปลาตะเพียนขาวในการฝึกอบรมการเพาะขยายพันธุ์ ซึ่งเป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ และพบมากในแม่น้ำชี ที่สำคัญเป็นปลาประจำศูนย์เรียนรู้โครงการเพาะพันธุ์ปลาตำบลเกาะแก้ว

          - ให้ความรู้ในการจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือ
        จัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือในการเพาะขยายพันธุ์ปลา เตรียมบ่อผสมพันธุ์ปลา เตรียมบ่อฝักไข่ปลา ตลอดจนเตรียมบ่ออนุบาลลูกปลา อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการเพาะขยายพันธุ์ปลามีดังนี้ 
         - ถังขนาด 200 ลิตร จำนวน 2 ใบ สำหรับแยกปลาเพศผู้และเพศเมีย มีเครื่องออกซิเจนสำหรับช่วยเพิ่มอากาศขณะเคลื่อนย้ายพันธุ์ปลา เพื่อเตรียมผสมพันธุ์


 

      - ให้ความรู้ในการจัดเตรียมกระชัง
       เตรียมกระชังผ้าไนร่อนแก้วและกระชังตาข่ายมีที่ปิดด้านบน ขนาดเท่ากับบ่อผสมพันธุ์ปลา วางกระชังผ้าไนร่อนแก้วทับด้วยกระชังตาข่าย เติมน้ำเข้าบ่อผสมพันธุ์ปลาประมาณ 60 - 80 เชนติเมตร น้ำต้องสะอาดและผ่านการฆ่าเชื่อเป็นอย่างดี ก่อนนำลงบ่อเพาะพันธุ์ปลา

 
         
         - การคัดเลือกพันธุ์ปลา
         ให้ความรู้ในคัดเลือกพันธุ์ปลาตะเพียนขาว ที่มีความพร้อมและสมบูรณ์ ตลอดจนการคัดแยกพันธุ์ปลาตะเพียนขาวเพศผู้ - เพศเมีย  
           แยกพันธุ์ปลาเพศผู้ - เพศเมีย ปล่อยลงถังที่เตรียมไว้ 

 
     - การชังน้ำหนักปลา
       ให้ความรู้ในการคัดเลือกพันธุ์ปลาเพศเมียมาชังน้ำหนัก เพื่อคำนวนการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์


      - การผสมฮอร์โมนสังเคราะห์
      ให้ความรู้ในการผสมฮอร์โมนสังเคราะห์ เมื่อได้น้ำหนักปลาเพศเมียแล้ว ปล่อยให้พันธุ์ปลาได้พักฟื้น จึงทำการบดยาทำละลายและผสมฮอร์โมนสังเคราะห์  นำน้ำหนักปลาเพศเมียมาเป็นตัวคำนวนในการผสมฮอร์โมนสังเคราะห์


         - การฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ (ผสมพันธุ์ปลาตะเพียนขาว)
          ให้ความรู้การฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์  เมื่อเตรียมฮอร์โมนสังเคราะห์เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงทำการฉีดฮอร์โมนปลาเพศเมียตามอัตราส่วนที่ได้คำนวนไว้ ซึ่งทางศูนย์เรียนรู้ฯ ได้สาธิตการฉีดฮอร์โมน และให้ความรู้ในการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ ก่อนให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติ
          ก่อนทำการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ ให้เปิดเครื่องปั้มลมประมาณ 30 - 45 นาที เพื่อปรับสภาพและเพิ่มอุณหภูมิในน้ำ 


          ลงมือปฏิบัติการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์


       ปล่อยปลาเพศเมียที่ฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ลงบ่อผสมพันธุ์ เสร็จแล้วให้นำปลาเพศผู้ลงบ่อผสมพันธุ์ โดยใช้ปลาเพศผู้ 2 ตัว/ปลาเพศเมีย 1 ตัว ปล่อยให้ปลาผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ ซึ่งปลาจะวางไข่ประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง
       ปล่อยปลาตะเพียนเพศผู้  ลงบ่อผสมพันธุ์ (ในอัตราปลาเพศผู้ 2 ตัว ต่อ ปลาเพศเมีย 1 ตัว)


      ขณะปล่อยปลาผสมพันธุ์ ใช้ตาข่ายคุมบ่อผสมพันธุ์ เพื่อป้องกันปลากระโดกออกจากบ่อขณะผสมพันธุ์


       - การฝักไข่ปลา (ฝักไข่ปลาตะเพียนขาว)
         ให้ความรู้ในการฝักไข่ปลา จัดเตรียมบ่อฝักไข่และอุปกรณ์ในการฝักไข่ปลาตะเพียนขาว
         ทำความสะอาดกรวยฝักไข่ปลา แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง


        เตรียมบ่อฝักไข่ปลา
        เตรียมกรวยฝักไข่ปลา เช็ดความพร้อมของปั้มลมและสายออกชิเจน 


        ใช้ด่างทับทิมผสมน้ำ สาดให้ทั่วบ่อฝักไข่ปลา ทิ้งไว้ประมาร 15 - 20 นาที แล้วล้างทำความสะอาด เพื่อฆ่าเชื้อรา


       หลังทำความสะอาดทิ้งไว้ให้แห้ง เติมน้ำเข้าบ่อฝักไข่ประมาณ 60 - 80 เชนติเมตร 



      ปล่อยให้ปลาผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง ปลาจะวางไข่ เมื่อปลาวางไข่สร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ยกกระชังตาข่ายออก นำปลาไปปล่อยลงในบ่อเพาะเลี้ยง เพื่อพักพื้น หลังจากนั้นให้ทำการเก็บไข่ปลา นำไปฝักในกรวยฝักไข่ต่อไป


       หลังเก็บไข่ใส่กรวยแล้ว ไข่ปลาตะเพียนขาวจะฝักตัวประมาณ 8 - 12 ชั่วโมง ระหว่างที่ปลาฝักไข่ต้องเฝ้าระวัง ปั้มลมอ็อกชิเจน ไม่ให้ลมแรงหรือเบาจนเกินไป เพื่อให้ไข่ปลาฝักเป็นตัวพร้อมกัน 
       เมื่อไข่ปลาฝักเป็นตัวแล้ว ตรวจดูความแข็งแรงของลูกปลา หากลูกปลาแตกตัวพร้อมกันและแข็งแรง ให้คว่ำกรวย ปล่อยลูกปลาตะเพียนขาวลงบ่อฝัก พักฟื้นให้ลูกปลาอยู่ในบ่อฝักประมาณ 3 - 4 วัน ให้ลูกปลาตะเพียนขาวมีปอดและสามารถกินอาหารเองได้ 
       ให้อาหารด้วยไข่แดงบดละเอียด สาดหรือฉีดพ่นให้ทั่วบ่อ 


      การจัดกิจกรรมโครงการฝึกอบรมการเพาะพันธุ์ปลา ประจำปี 2556 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ  
         สิ้นสุดการจัดกิจกรรมตามโครงการฯ
       
                             ศูนย์เรียนรู้โครงการเพาะพันธุ์ปลาตำบลเกาะแก้ว
                             สำนักงานเทศบาลตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น